เดงกีไวรัส (Dengue virus), ต่อ

การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

         การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับโรคไข้เลือดออกเดงกี มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันว่า
การป่วยนั้นเกิดจากไวรัสเดงกีหรือไม่
และยังมีความสำคัญในแง่ของการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกเดงกีด้วย
(surveillance)

         การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับการติดเชื้อไวรัสเดงกี แบ่งได้เป็นกลุ่มดังต่อไปนี้

         1. การตรวจหาเชื้อเดงกีจากเลือดของผู้ป่วย ในระยะ viremia
         2. การตรวจหา RNA genome ของไวรัส โดยวิธี Reverse
Transcription-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
         3. การตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อเดงกี

การเก็บตัวอย่างตรวจ


         เก็บตัวอย่างแรก (acute serum) ทันทีที่ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการหรือมาพบแพทย์
ซึ่งควรจะเป็นระยะที่มีไข้ ส่วน convalescent serum เก็บห่างจากวันเริ่มป่วย 10-14
วัน แต่ถ้าวันที่ผู้ป่วยกลับบ้านห่างจากวันเริ่มป่วยไม่ถึง
10 วัน ให้เก็บ serum
ก่อนกลับบ้าน
และถ้าเป็นไปได้ให้เก็บอีกครั้ง โดยห่างจากวันเริ่มป่วย 10-14
วัน



         ตัวอย่างที่ใช้ในการแยกเชื้อไวรัส หรือ
ทำการตรวจโดยวิธี PCR คือ acute serum ซึ่งการเก็บ serum หรือการขนส่ง serum ควรใส่ไว้ในถัง liquid nitrogen และหลีกเลี่ยงการแช่แข็งแล้วละลายซีรั่มบ่อยๆ
ซึ่งเป็นการทำลายไวรัส ทำให้โอกาสแยกเชื้อได้น้อยลง



         อาจใช้กระดาษซับเลือดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือด
เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเดงกีได้ถ้าจำเป็น แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะใช้
serum มากกว่า
ถ้าเก็บด้วยกระดาษซับเลือด ต้องใช้กระดาษซับเลือดมาตรฐานเท่านั้น
ปัจจุบันที่ใช้กันคือ กระดาษซับเลือดที่มีลักษณะยาว Nobuto
type I 

ใส่ความเห็น