Archive for ไม่มีหมวดหมู่

Khupulsup KPetchclai B.

Abstract

In hyperendemic areas such as Thailand, rapid diagnosis of melioidosis depends upon both bacteriological culture and serological methods. However, interpretation of indirect hemagglutination (IHA) for melioidosis which is the only test available, is seriously hampered by increased IHA titers present in one-third to one-half of the population. In order to get the best results from the available tests, IHA and indirect fluorescent antibody for IgM (IFA-IgM) were evaluated in controls and patients in Thailand. IHA titers of greater than or equal to 1:40 were considered remote or recent exposure to P. pseudomallei. IHA titers of this level were found in 47.1% of 227 blood donors and 29.5% of 210 sera submitted for other tests, while IFA-IgM was positive in only one donor who had an IHA titer of 1:1,280. IHA was positive in eight out of nine patients with melioidosis with IHA titers of less than 1:20 to 1:2,560. IFA-IgM was positive in six out of seven melioidosis patients whose sera were available for this test including a serum with IHA titer of less than 1:20. Six patients were predisposed by diabetes mellitus. Among sera serologically tested for melioidosis, 33 had IHA titers of 1:80-1:1,280, 10 of which were positive for IFA-IgM. This study demonstrates high background IHA titers among IHA titers among Thai people which greatly limits its use for serodiagnosis of melioidosis. In sharp contrast, serodiagnosis by IFA-IgM was more successful. Positive IFA-IgM among healthy Thais did exist indicating that serologic tests for melioidosis at best are only supplementary to bacteriological culture and clinical awareness.
PMID:

 

3513649

 

[PubMed – indexed for MEDLINE]

ให้ความเห็น

ส่งความสุข ปี พ.ศ.255 ในหลวงของเรา

ให้ความเห็น

โรคเลปโตสไปโรซิล(Leptospirosis)

         โรคเลปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ Leptospira interrogans ผู้ป่วยมักมีอาการ เริ่มต้นด้วยอาการไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีเลือดออกที่เยื่อบุตา ไอ คอแข็ง ในรายที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยดีซ่าน ตับวาย ไตวายเฉียบพลัน มีเลือดออกในปอดและเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ระบาดและมีปัจจัยควรตระหนักถึงอันตราย และไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและอัตราตายลดลง

การติดต่อสู่คน

           คนได้รับเชื้อเลปโตสไปรา จากการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะหรือเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือน้ำ ดินที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางรอยถลอกของผิวหนังแล้ว อาจติดเชื้อจากการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนปัสสาวะ สัตว์ที่เป็นรังเก็บเชื้อเลปโตสไปรา เชื้อนี้สามารถไชผ่านเยื่อบุทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ เยื่อตาได้ด้วย เชื้อเลปโตสไปราพบได้ในสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง ฟาร์มสัตว์หลายชนิด เช่น หมู หนู โค กระบือ สุนัข แมว เป็นต้น โดยเชื้อจะขับออกมากับปัสสาวะของสัตว์ แล้วปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม หนูและสัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่คนที่สำคัญ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติลุยน้ำลุยโคลนด้วยเท้าเปล่า ผู้มีอาชีพที่ต้องสัมผัสสัตว์ ดินและน้ำ ชาวไร่ ชาวนา คนเลี้ยงสัตว์ สัตวแพทย์ เป็นกล่มเลี่ยต่อดรคนี้ กิจกรรมและกีฬาทางน้ำ เช่น เล่นเรือ ล่องแก่ง ว่ายน้ำ เป็นต้น

การควบคุมป้องกัน

        ลดจำนวนสัตว์ติดเชื้อโดยตรวจและให้การรักษา ป้องกันการติดเชื้อของสัตว์เลี้ยงโดยให้ให้วัคซีน หลีกเลี่ยงการสัมผัสแหล่งน้ำที่มีสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรค ลดแหล่งแพร่เชื้อโดยกำจัดหนูสัตว์รังโรคและกำจัดขยะมูลฝอย ลดการสัมผัสเชื้อปนเปื้อนโดยสวมถุงมือและรองเท้าขณะทำงานสัมผัสดินหรือน้ำ ลุยโคลน และรักษาสุขอนามัย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

        มีวิธีการตรวจวิเคราะห์หลายวิธีและมีวัตถุประสงค์การตรวจแตกต่างกัน ได้แก่

  1. การตรวจหาตัวเชื้อ ได้แก่ การตรวจหาตัวเชื้อในสิ่งส่งตรวจด้วย dark-field microscope การเพาะเชื้อ leptospira จากตัวอย่างเลือด ปัสสาวะและอื่นๆ
  2. การตรวจหาแอนติบอดี ได้แก่ การตรวจด้วยวิธี Microscopic agglutination test(MAT), การตรวจด้วยวิธี Indirect Hemagglutination, Immucochromatography(IC), Indirect Fluorescencent Antibody(IFA)
  3. การตรวจหาสารพันธุกรรม ด้วยวิธี Polymerase Chain Reaction(PCR)

ให้ความเห็น

สวัสดีชาวโลก – -‘

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

Comments (1)

มีผู้ผลิต test kit สำหรับตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเดงกี หลายบริษัท ในประเทศไทยมีผู้ใช้บ้าง

1.      Dengue Fever Virus IgM Capture ELISA และ Dengue
Fever Virus ELISA IgG
ของบริษัท
MRL ประเทศสหรัฐอเมริกา
     
สำหรับ
Dengue Fever Virus IgM Capture ELISA
ใช้หลักการ Capture ELISA ระยะเวลาในการตรวจ 1-2 วัน แอนติเจนที่ใช้เป็น inactivated
dengue virus type 1-4
      Dengue Fever Virus ELISA IgG
ใช้หลักการ Indirect ELISA ใช้เวลาในการตรวจ 3 ชั่วโมง แอนติเจนที่ใช้เป็น inactivated purified
dengue Virus type 1-4
      Palmer C J
และคณะได้ทำการประเมิน Dengue
Fever Virus IgM Capture ELISA
ได้
Sensitivity 98% , Specificity 100%, Cuzzubbo A J และคณะประเมินได้ sensitivity 94%,
specificity for JE 25% , specificity for other infection (non flavivirus
infection
ได้แก่ มาลาเรีย,
ไทฟอย, Leptospirosis, และ Scrub Typhus) 91% และ Vajpayee และคณะประเมินได้ Sensitivity 97.8% และ Specificity 100%

2.      Dengue IgM Capture ELISA ของบริษัท Pan Bio ประเทศออสเตรเลีย
      ใช้หลักการ
Capture ELISA
      ใช้เวลาในการตรวจ
3 ชั่วโมง
      ไม่พบข้อมูลการประเมินน้ำยาชุดนี้

3.      Dengue Indirct IgG ELISA test ของบริษัท Pan Bio ประเทศออสเตรเลีย
      ใช้หลักการ
Indirect ELISA
      ใช้เวลาในการตรวจ
3 ชั่วโมง
      ไม่พบข้อมูลการประเมินน้ำยาชุดนี้

4.    
Rapid test

4.1 DIP-S-TICKS Dengue Fever Test ของบริษัท Integrated Diagnostics ประเทศสหรัฐอเมริกา
      มีทั้งตรวจหา
IgM และ IgG
โดยใช้หลักการเดียวกับ dot
blot test คือใช้เเผ่น nitrocellulose
strip ที่เคลือบด้วยแอนติเจนของไวรัสเดงกีไว้แล้ว
ในลักษณะเป็นจุด
(dot) จากนั้นจึงนำมาจุ่มในซีรั่มผู้ป่วย
ถ้าในซีรั่มมีแอนติบอดีต่อเดงกี
แอนติบอดีก็จะจับกับแอนติเจนที่
dot ไว้ จากนั้นจึงตรวจหาแอนติบอดีนั้นอีกทีโดยจุ่มลงใน
anti-human IgM หรือ IgG
ที่ติดฉลากไว้ด้วยเอนไซม์ alkaline
phosphatase จากนั้นจึงจุ่มลงใน substrate
แล้วจึงอ่านผลจากสีที่เกิดขึ้นบน dot
ชุดทดสอบนี้ใช้เวลาประมาณ 3 นาทีสำหรับการตรวจ IgM
และ 45 นาที สำหรับการตรวจ IgG

4.2 Dengue Duo IgM and IgG Rapid Strip test ของบริษัท Pan Bio ประเทศออสเตรเลีย
      ใช้หลักการ
colloidal gold- based immunochromatography ในการตรวจหา dengue IgM และ IgG การทดสอบใช้ซีรั่ม 1 หยด อ่านผลจากแถบสีที่เกิดขึ้นภายใน
7 นาที
แล้วแปลผลออกได้เป็น
primary dengue, secondary dengue, suspected หรือ negative ซึ่งระบุไว้บนแผ่น card ตรวจสอบ

      Rapid test ทั้งสองนี้มีความไวและความจำเพาะพอสมควรตามที่มีการรายงานไว้

      ข้อควรระวังในการใช้ Rapid
test เหมือนกับวิธีหา IgM
ทั่วไป คือ
ถ้าทำการทดสอบเพียงครั้งเดียว ในขณะที่ผู้ป่วยยังมีอาการอยู่อาจให้ผลลบได้
เนื่องจากระดับ IgM ยังขึ้นไม่สูงพอ อีกประการคือ ความจำเพาะของ test
ยังไม่ดีนัก
เนื่องจากอาจให้ผลบวกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Flavivirus อื่น เช่นไวรัสสมองอักเสบเจอี

      โดยสรุปวิธีที่มักใช้ในการยืนยันการติดเชื้อเดงกี
ได้แก่วิธี MAC-ELISA , GAC-ELISA และวิธี HI ส่วนการแยก เชื้อจะทำจาก acute
serum ซึ่งเจาะขณะผู้ป่วยยังมีไข้อยู่
เซลล์ที่นิยมใช้ได้แก่ C6/36 การแยกเชื้อหรือการทำ PCR สามารถบอกserotype ของไวรัสได้
ดังนั้นจึงมีความสำคัญในแง่การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการระบาดของไวรัสเดงกีแต่ละ serotype

      วิธี capture ELISA และ HI สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อแบบ primary
infection หรือ secondary
infection แต่ไม่สามารถบอก
serotype
ของเชื้อเดงกีที่ติดได้ ส่วนการแยกเชื้อ และ การทำ PCR ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อแบบ primary
infection หรือ secondary
infection แต่บอก serotype ของไวรัสเดงกีที่เป็นสาเหตุได้

ให้ความเห็น

เดงกีไวรัส (Dengue virus),ต่อ

การแยกเชื้อไวรัสเดงกี

         การแยกเชื้อไวรัสเดงกีจากตัวอย่างตรวจถือว่าเป็นการยืนยันสาเหตุ
การเกิดโรคที่แน่นอนที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นวิธีที่บอกถึง serotype
ของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหรือก่อให้เกิดการระบาด
จึงมีความสำคัญในเเง่ระบาดวิทยา

         วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ
Mosquito cell culture C6/C36 เป็นเซลล์เพาะเลี้ยงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในการแยกเชื้อไวรัสเดงกี
หลังจากเลี้ยงไวรัส 7Fluorescence antibody
techniques

วันเเล้ว ตรวจหาไวรัสโดยวิธี

Reverse transcription – Polymerase Chain reaction หรือ RT-PCR

         การทดสอบนี้เริ่มจากการสกัด
RNA จากสิ่งส่งตรวจ
เช่น ซีรั่ม จากนั้นเปลี่ยนสาย RNA genome
ของไวรัสให้เป็น
complementary DNA หรือ cDNA ในปฏิกิริยา reverse transcription หลังจากนั้นจึงทำ PCR เพื่อเพิ่มจำนวนสาย DNA โดยใช้ DNA
region สั้นๆ ซึ่งอยู่ในสาย cDNA เป็น target
และใช้
primer ที่จำเพาะต่อไวรัสเดงกีนั้นๆ

         การตรวจหา
PCR product ทำได้หลายวิธี
วิธีที่นิยม คือ นำ PCR
product ไปทำ electrophoresis
ใน agarose gel แล้วย้อม gel ด้วย ethidium bromide แล้วเทียบขนาดโมเลกุลของ PCR product กับขนาดของ product เมื่อ ใช้ไวรัสเดงกีเป็น control

         วิธี PCR เป็นวิธีที่รวดเร็ว อาจได้ผลภายใน 4 ถึง 24
ชั่วโมง มีความไว (sensitivity)
และ
ความจำเพาะ(specificity) สูง
ข้อเสีย PCR คือ
ค่าใช้จ่ายสูง และปัญหาเรื่องผล false
positive เนื่องจากการปนเปื้อน (contamination) จาก amplicon
(amplified PCR product ครั้งก่อน) ได้ง่าย
ในการทดสอบจึงควรมี negative
control ในขั้นตอนต่างๆของการทำ RT-PCR และผู้ปฏิบัติควรมีความชำนาญและระมัดระวังเป็นพิเศษ

ให้ความเห็น

เดงกีไวรัส (Dengue virus), ต่อ

การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

         การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับโรคไข้เลือดออกเดงกี มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันว่า
การป่วยนั้นเกิดจากไวรัสเดงกีหรือไม่
และยังมีความสำคัญในแง่ของการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกเดงกีด้วย
(surveillance)

         การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับการติดเชื้อไวรัสเดงกี แบ่งได้เป็นกลุ่มดังต่อไปนี้

         1. การตรวจหาเชื้อเดงกีจากเลือดของผู้ป่วย ในระยะ viremia
         2. การตรวจหา RNA genome ของไวรัส โดยวิธี Reverse
Transcription-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
         3. การตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อเดงกี

การเก็บตัวอย่างตรวจ


         เก็บตัวอย่างแรก (acute serum) ทันทีที่ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการหรือมาพบแพทย์
ซึ่งควรจะเป็นระยะที่มีไข้ ส่วน convalescent serum เก็บห่างจากวันเริ่มป่วย 10-14
วัน แต่ถ้าวันที่ผู้ป่วยกลับบ้านห่างจากวันเริ่มป่วยไม่ถึง
10 วัน ให้เก็บ serum
ก่อนกลับบ้าน
และถ้าเป็นไปได้ให้เก็บอีกครั้ง โดยห่างจากวันเริ่มป่วย 10-14
วัน



         ตัวอย่างที่ใช้ในการแยกเชื้อไวรัส หรือ
ทำการตรวจโดยวิธี PCR คือ acute serum ซึ่งการเก็บ serum หรือการขนส่ง serum ควรใส่ไว้ในถัง liquid nitrogen และหลีกเลี่ยงการแช่แข็งแล้วละลายซีรั่มบ่อยๆ
ซึ่งเป็นการทำลายไวรัส ทำให้โอกาสแยกเชื้อได้น้อยลง



         อาจใช้กระดาษซับเลือดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือด
เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเดงกีได้ถ้าจำเป็น แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะใช้
serum มากกว่า
ถ้าเก็บด้วยกระดาษซับเลือด ต้องใช้กระดาษซับเลือดมาตรฐานเท่านั้น
ปัจจุบันที่ใช้กันคือ กระดาษซับเลือดที่มีลักษณะยาว Nobuto
type I 

ให้ความเห็น

Microsoft Acess ใช้ทำอะไร

     ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) คือ โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล
มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างคิวรี่ได้ มีส่วนคอนโทลให้เรียกใช้ในรายงานและฟอร์ม
สร้างมาโครและโมดูลด้วยภาษาเบสิกเพื่อประมวลผลตามหลั กภาษาโครงสร้าง
หรือจะใช้เป็นเพียงระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอก เรียกใช้
ซึ่งง่ายสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ในเรื่องการเขียนโปรแกรม
หรือผู้พัฒนาระบบฐานข้อมูลมาแล้ว ช่วยให้การพัฒนาระบบงานเสร็จได้อย่างรวดเร็ว

     ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) ต่างกับ วิชวลเบสิก (Visual Basic) เพราะ
วิชวลเบสิกสามารถพัฒนาโปรแกรมได้หลากหลาย เช่น พัฒนาโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์
โปรแกรมประยุกต์ เกมส์ หรือเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลภายนอก
เป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application)
ส่วนไมโครซอฟท์แอคเซสเหมาะสำหรับนักพัฒนาระบบฐานข้อม ูล
ที่ไม่ต้องการระบบที่ซับซ้อน และต้องการพัฒนาให้เสร็จอย่างรวดเร็ว
มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบฐานข้อม ูลอย่างครบถ้วน
      โดยสรุป เป็นโปรแกรมไว้สร้างฐานข้อมูล หรือ Database สามารถพัฒนาเป็น
Application หรือ โปรแกรมใช้งานได้ แต่ระบบจะไม่มีอะไรหวือหวามากครับ
ส่วนใหญ่ใช้สร้างฐานข้อมูล ซึ่งนำไปเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่นเสียมากกว่า

ให้ความเห็น