Archive for Direction Lab

นักเทคนิคการแพทย์ในห้องสกัดสารพันธุกรรมในยุคCovid19

นักเทคนิคการแพทย์กำลังปฏิบัติงานสกัดสารพันธุกรรมจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยในจังหวัดสุรินทร์จากนั้นนำสารพันธุกรรมที่ได้ได้ไปตรวจRT PCRต่อไป… ขวัญกำลังใจเต็มที

ให้ความเห็น

Demonstration of intraerythrocytic inclusion bodies staining

หลักการ : ฮีโมโกลบิน H (β4) เป็นฮีโมโกลบินที่ไม่เสถียร เมื่อถูกออกซิไดซ์ด้วยสี Brilliant cresyl blue หรือ Methylene blue จะตกตะกอน เห็นเป็นเม็ดสีน้ำเงินคล้ายลูกปัดอยู่เติมเซลล์

สารเคมีและน้ำยา

  1. Citrate saline solution : 3% sodium citrate solution 20 ml. 0.9% NaCl 80 ml.
  2. สารละลาย A – (1% Brilliant cresyl blue) : Brilliant cresyl blue 1 gram. เติม Citrate saline solution ให้ครบ 100 ml.
  3. สารละลาย B : Brilliant cresyl blue 10 gram. glutraldehyde 2.5 ml. เติม Citrate saline solution ให้ครบ 500 ml.

วิธีย้อมสี

  1. ผสมเลือด 1 ส่วนกับ สารละลาย A 1 ส่วน ในหลอดทดลอง
  2. อุ่นที่ 37 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง
  3. เมื่อครบ 2 ชั่วโมง นำมาสเมียร์เลือดทิ้งไว้ให้แห้ง
  4. ย้อมทับด้วยสารละลาย B 3 นาที ล้างสารละลาย B ออก ทิ้งไว้ให้แห้งแล้ว นำไปตรวจดู ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กำลังขยาย 100X

การรายงานผล

  • นับเม็ดเลือดแดงที่มี Inclusion bodies ต่อ จำนวนเม็เลือดแดง 1000 ตัว แล้ว รายงานเป็น % Inclusion bodies

 

ให้ความเห็น

เซลล์เม็ดเลือดแดงที่สนใจ

ให้ความเห็น

สิ่งนำพา พัฒนางานการบริการทางเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลของรัฐ

แนวคิดการพัฒนาบริหารจัดการกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลของรัฐ

แนวคิดการพัฒนาบริหารจัดการกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลของรัฐ

การพัฒนางานการบริการทางเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาล ในช่วงก่อน ปี พ.ศ. 2559 ประสบปัญหาเกี่ยวกับ การปริมาณงานการตรวจปริมาณจำนวนมาก ขาดอัตรากำลังและเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ ใช้แบบมาตราฐานจึงใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์แบบ Manual หรือที่เรียกว่า Conventional Test ต่อมานโยบายของรัฐ เน้นให้เข้าสู่บริการทางเทคนิคการแพทย์มากขึ้น พร้อมกับการเพิ่มศกย์ภาพการรักษาพยาบาล และควบคุม ป้องกันโรคทั้งโรคป้องกันได้ และโรคเรื้อรัง ทำให้ฝ่ายการรักษาพยาบล(แพทย์, พยาบาล และสาธารณสุข) ส่งสิ่งตรวจจากผู้ป่วย และประชาชน เข้ามารับบริการทางเทคนิคการแพทย์ จำนวนมาก เพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว

ดังนั้น นักเทคนิคการแพทย์ ต้องพัฒนาการบริหารจัดการ ช่วงแรกจะเป็นนำเทคโนโลยี่มาใช้ ทั้ง เครื่องตรวจอัตโนมัติ และระบบสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้การบริการได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงการบริการ แต่ทางกลับกัน เครื่องมือที่ใช้อยู่ในรูปแบบของการยืมเครื่องมือมาใช้ ที่ห้องปฏิบัติการ โดยต้องใช้กับวัสดุที่จัดซื้อ ดูและคล้ายกับการเช่าใช้ และไม่รับผิดชอบการซ่อมบำรุง ดูเหมือนว่า ถ้าต้องการให้วัสดุที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ ผู้ขายต้องบริการหลังขายให้เครื่องมือไม่เสียและทำงานได้อย่างปกติ ผลค่าใช้จ่ายทางห้องปฏิบัติการสูงขึ้น อาจจะเกิดจากปริมาณงานมากขึ้น หรือว่า เราซื้อมากกว่า วัสดุอย่างเดียวหรือเปล่า

วันนี้ การบริหารจัดการ จึงมาดูค่าใช้จ่าย ตอนแรกคงมุ่งเป้าไปซื้อราคาวัสดุให้ต่ำลง ต่อไป ควบคุมคลังวัสดุ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ส่วนบทบาทของนักเทคนิคการแพทย์ ต่อไปต้องเอาระบบคุณภาพใส่ใจให้มาก เพื่อ good laboratory practice ผลให้ผลตรวจมีคุณภาพ และคุ้มค่า เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ก็คือ การบริหารต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ น่าจะ เป็นทางออกที่เหมาะสม ตอนนี้ เราต้องหาเครื่องการจัดการข้อมูล แบบไม่เพิ่มภาระงาน ให้สมกับนักเทคโนโลยี่ ชั้นยอด

เรามาเริ่มการบริหารจัดการข้อมูลสำหรับงานวัสดุที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ จะนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารระหว่างห้องปฏิบัติการ ดีกว่า เมื่อเราทราบต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ในแต่ละรายการตรวจวิเคราะห์ เสมือนกับ ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม กระบวนการตรวจวิเคราะห์เพื่อให้ผลการตรวจที่ดี ถูกต้อง เสมือนกับ สายการผลิตของภาคอุตสาหกรรม กระบวนการรายงานผลตรวจ เสมือนกับ กระบวนการขนส่งสินค้าไปถึงผู้บริโภค ดังนั้นการเก็บข้อมูล ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า จะคิดต้นทุนแค่ไหนในคราวนี้กำหนดให้ คิดกระบวนการตรวจวิเคราะห์ ไม่คิดกระบวนการรายงานผล เรามาเริ่มเลยนะครับ

  1. รายการตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการให้บริการ
  2. รายการวัสดุวัสดุที่ใช้ทั้งหมด ในห้องปฏิบัติการ
  3. แผนการใช้วัสดุในแต่ละการตรวจวิเคราะห์
  4. แผนการใช้วัสดุในการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ ทั้ง IQC และ EQC หรือ PT
  5. แผนการบำรุงรักษา เครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ (ถ้ามี)

ในปี งบประมาณ ๒๕๖๑ อีกไม่กี่วัน เริ่มกระบวนการกำกับ การใช้วัสดุต่างๆ ในโรงพยาบาล ให้มีความคุ้มค่า หลังจากเตรียมการมานาน และพลังเทคโนโลยี่สารสนเทศ

สิ่งแรก ที่เริ่ม ๑ ต.ค. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการจัดหา ผ่าน ระบบ eGP โดยเริ่มจาก แผนวัสดุ และให้ผู้สนใจ/ผู้ขาย รับทราบ ราคา และระยะเวลาจัดหา ซึ่ง จะให้รายละเอียดต่างๆเกียวกับ การจัดหา ทั้งวิธีจัดหาเป็นแบบ เชิญชวน เฉพาะเจาะจง คัดเลือก พิเศษ ส่วนวงเงิน ที่ใช้ ตัวกำหนด กระบวนการจัดหา

สิ่งที่สอง ให้ผู้ใช้ เขียนใบเสนอความต้องการ หรือ บันทึกขอซื้อ มักจะเรียกว่า ใบ PR จากนั้น นำสู่กระบวนการ พัสดุ ของหน่วยงาน ผ่านไป เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าพัสดุ จนออกใบสั่งซื้อ / สั่งจ้าง มักจะเรียกว่า ใบ PO ซึ่งจะใช้ สั่ง ให้ผู้ขาย ส่งผลิตภัณฑ์ / บริการ ทั้งนี้ ต้องสอดคล้องกับ แผนวัสดุ และ การจัดหา ที่จัดทำใน eGP มาก่อนแล้ว

สิ่งที่สาม การส่งมอบ และ การตรวจสอบ ยังใช้ระบบเดิม แต่เริ่มเน้น การบริหารจัดการคลังพัสดุ แต่นี้เริ่มกำหนดให้ มีคลังเทคนิคการแพทย์ ซึ่งกลุ่มวิชาชีพ ต้องมารับผิดชอบเอง เป็นการกำหนดความรับผิดชอบใหม่ แต่เดิมก็ทำอยู่แล้ว ตั้งแต่ ผมเรียนจบ ทำให้ผู้บริหารรับทราบภาระงานที่เพิ่มขึ้น จากเดิม เข้าใจว่า ทำแต่ การบริการผู้ป่วยและการตรวจวิเคราะห์ เมื่อเป็นเป็น คลังเทคนิคการแพทย์ ต้องปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ เริ่มจาก มีการเบิกวัสดุ เข้า ออก ทำทะเบียนคุมคลัง คำนวนมูลค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารคลัง เป็นผลให้ ผู้ใช้วัสดุวิทยาศาสตร์ ทราบ การใช้จ่ายของตนเอง

สิ่งที่สี่ ก็จะเกิดขึ้น ทราบ งบดุล คำนวณอีกนิดหน่อย ก็จะรู้ ต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ (Unit Cost of analytical test) นำไปสู่กระบวนพัฒนา กระบวนการตรวจวิเคราะห์ ให้มีต้นทุนที่คุ้มค่า และ ต้นทุนต่ำ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการตรวจวิเคราะห์ มีลักษณะทำนองเดียวกัน หน่วยผลิตสินค้าทั่วไป ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

ให้ความเห็น

BSL-2 ให้ปฏิบัติแบบ BSL-3

แนวคิดจัดห้องปฎิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ เพื่อจัดเป็นพื้นที่เฉพาะในการตรวจวิเคราะห์จากตัวอย่างที่สงสัยมีเชื้อโรคอัตราย

แนวคิดการจัดห้องปฏิบัติการ BSL 2

แนวคิดการจัดห้องปฏิบัติการ BSL 2

ให้ความเห็น

การรับรอง ถ้าสถาบันขาดคุณสมบัติหรือไม่ทำตามระเบียบ หรือหมดอายุแล้วไม่ยื่นขอการรับรองต่อ หรือขอลาออกจากการเป็นสถาบันหลัก)

เล่าเรื่อง cmte : ๘
ขั้นตอนการรับรองสถาบันหลัก และสถาบันสมทบ

ยื่นคำขอสมัครต่อศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง (สถาบันหลักใช้แบบฟอร์ม ศ.น.ทนพ.๐๑ สถาบันสมทบใช้ ศ.น.ทนพ.๐๒) พร้อมค่าธรรมเนียม (สถาบันหลัก ๕๐๐๐ บาท/๕ ปี สถาบันสมทบ ๓๐๐๐ บาท/๕ ปี) และหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคำขอ ส่งไปที่ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องเทคนิคการแพทย์ ศูนย์ฯ จะนำเสนอให้สภาฯ พิจารณารับรองการเป็นสถาบันหลัก หรือสถาบันสมทบ เพื่อจัดการการศึกษาต่อเนื่องเทคนิคการแพทย์ แล้วส่งให้ศูนย์ฯ กำหนดรหัสของสถาบันหลัก หรือสถาบันสมทบนั้นๆ แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้สถาบันทราบ อายุการรับรอง ๕ ปี เมื่อครบ ๕ ปี สามารถยื่นขอการรับรองต่อได้ (ศูนย์อาจเสนอให้สภาฯเพิกถอน

สถาบันสมทบมีอายุการรับรอง ๕ ปีเช่นเดียวกับสถาบันหลัก แต่จะพ้นสภาพตามสถาบันหลัก คือเมื่อสถาบันหลักถูกเพิกถอนด้วยเหตุที่กล่าวมาแล้ว สถาบันสมทบต้องสมัครเข้าร่วมกับสถาบันหลักอื่นภายใน ๑ ปีนับจากวันที่สภาฯประกาศเพิกถอนสถาบันหลักนั้น โดยถือว่าการดำเนินกิจกรรม cmte ระหว่างนั้นได้รับการรับรอง
สถาบันสมทบอาจถูกเพิกถอนได้เช่นกันเมื่อทำผิดกติกา

กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่สถาบันหลัก หรือสถาบันสมทบจัด ตั้งแต่วันที่ใช้ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่องเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๖ (๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ สามารถเก็บคะแนนได้ เพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสียสิทธิ์)

สถาบันหลักและสถาบันสมทบที่ได้รับการรับรองแล้ว ต้องดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรหรือกิจกรรม cmte ไปเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษาต่อเนื่อง ตามระยะที่ศูนย์การศึกษาศึกษาต่อเนื่องกำหนด

ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้นายกสภาเทคนิคการแพทย์เป็นผู้พิจารณาชี้ขาด (ในการปฏิบัติจริง ระยะเริ่มต้นย่อมมีปัญหาแน่นอน เพราะมีเรื่องที่เริ่มปฏิบัติใหม่จำนวนมาก จึงมีบ้างที่เมื่อจะปฏิบัติพบว่ามีวิธีการที่ดีกว่า เป็นประโยชน์กับสมาชิกมากกว่าจึงอาจปรับไปบ้าง โดยไม่กระทบสาระสำคัญของระเบียบ

ระเบียบนี้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗ (และคงไม่ใช้ไปตลอดกาล เพราะศูนย์ต้องประเมินการดำเนินการทุกปี จึงมีโอกาสที่จะมีฉบับแก้ไข ปรับปรุงออกมาต่อไป)

ให้ความเห็น

บริจาคโลหิต ได้อะไร

601655_481829558555306_1814124109_n

เลือดบริจาคนี้ นำให้ผู้ป่วยไม่ได้ ดังนั้น ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก่อนบริจาคโลหิต 6 ถึง 12 ชั่วโมง เนื่องจาก กลไกปกติของร่างกาย จะใช้เวลา ย่อย / สลาย สารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เก็บไว้ในร่าวกายเพื่อนำไปใช้ต่อไป

ให้ความเห็น

เทคนิคการใช้โลหิตกับ ผู้ป่วย

539826_612931135390629_2145955507_n

ในการเตรียม เม็ดเลือดและส่วนประกอบของโลหิต ให้ผู้ป่วย ต้องคำนึงถึง ระบบของโลหิต ซึ่งมีหลายระบบ ระบบที่สำคัญ ABO และ Rh system

ให้ความเห็น

Six Sigma Exsample_1

ให้ความเห็น

ขั้นตอนการใช้ Imuflex WB-RP(In-Line Filter Removing Platelet รูป 1)

ให้ความเห็น

Older Posts »