Archive for สิงหาคม, 2013

กสม.เปิดรายงาน เหตุสลายชุมนุมปี 53 แดงใช้ความรุนแรงเกินขอบเขต รธน. พร้อมใช้เด็ก-ผู้หญิงเป็นโ

วันนี้ (8 ส.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม.ที่มี นางอมรา พงศาพิชญ์ เป็นประธาน ได้มีการเผยแพร่ผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. 53 – 19 พ.ค. 53 หลังใช้เวลาการตรวจสอบเกือบ 2 ปี โดยรายงานดังกล่าวมีทั้งสิ้น 92 หน้า เนื้อหาแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.ความเป็นมา 2.บทบาท อำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน ข้อจำกัดในการทำงาน 3.รัฐธรรมนูญ กฎหมายไทย พันธกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งประกาศ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 4.การดำเนินการตรวจสอบ พร้อมความเห็นในแต่ละเหตุการณ์ 5.บทสรุป และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ สาระสำคัญของรายงานดังกล่าว อยู่ในส่วนที่ 4 การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในแต่ละเหตุการณ์ พร้อมความเห็นใน 8 กรณี คือ 1.กรณีสถานการณ์ก่อนวันที่ 7 เม.ย. 2553 ที่กลุ่ม นปช.ได้มีการเคลื่อนขบวนออกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม ปิดล้อมและบุกเข้าอาคารรัฐสภา กสม.เห็นว่าการชุมนุมของ นปช.ตั้งแต่วันที่ 12-16 มี.ค. 53 เป็นการชุมนุมโดยสงบ อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมีการขยายพื้นที่ชุมนุม มีการเคลื่อนตัวไปยังบริเวณราชประสงค์ พร้อมแสดงแนวโน้มการชุมนุมที่ไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ความเดือดร้อนปรากฏโดยทั่วเป็นเวลาเนิ่นนานเกินความจำเป็น ส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การใช้กำลังความรุนแรงเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้อง การชุมนุมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการชุมนุมที่อยู่นอกเหนือขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองคุ้มครองไว้

2.กรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ในวันที่ 7 เม.ย. 2553 และกรณี ศอฉ.สั่งระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิล แชนแนล และสั่งระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเทอร์เน็ตบางส่วน กสม.เห็นว่าภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ได้เกิดเหตุหลายครั้ง โดยเฉพาะการระเบิดสถานที่สำคัญหลายแห่ง ตลอดเดือนมีนาคม ไปถึง เดือนเมษายน 35 อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข เป็นเหตุให้รัฐต้องขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคง ออกไปอีก 2 ช่วง และกลุ่ม นปช.เริ่มขยายพื้นที่การชุมนุมไปยังบริเวณราชประสงค์ และพื้นที่ต่างๆ จึงเห็นว่าการที่นายกฯโดยความเห็นชอบของ ครม.ใช้อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขต กทม.และจังหวัดใกล้เคียง พร้อมออกประกาศคำสั่งต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงเป็นกากรระทำที่อยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์การใช้มาตรการดังกล่าวก่อให้เกิดผลต่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลกระทบที่มีต่อบุคคลที่ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ จึงถือว่าเป็นความจำเป็นที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นการใช้อำนาจตามขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สามารถทำได้

ส่วนการสั่งระงับการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์พีเพิล แชนแนล และสั่งระงับสื่อสิ่งพิมพ์และอินเทอร์เน็ต นั้น เห็นว่าการจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของสื่อ อยู่ในขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้ โดยก่อนหน้าที่จะมีการสั่งระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวได้มีการเผยแพร่สัญญาณ ภาพ เสียง การชุมนุมของกลุ่ม นปช.มาก่อนที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ลักษณะการถ่ายทอด การปราศรัยของแกนนำเป็นการยั่วยุปลุกระดมมวลชนให้ก่อความไม่สงบในบ้านเมือง ซึ่งรัฐไม่ได้มีมาตรการใดๆ เพื่อระงับเหตุหรือแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว จึงถือว่ารัฐมีความบกพร่องในการควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขาดการวางแผนที่ดีพอ และป้องกันแก้ไขสถานการณ์ ส่วนการปิดเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์นั้น เห็นว่าเป็นการกระทำละเมิดเสรีภาพในการเสนอข่าว หรือแสดงความคิดเห็นของบุคคลหรือสื่อมวลชนเกินกรณีจำเป็น เพราะแม้รัฐจะใช้วิธีการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเขาถึงข้อมูล แต่ไม่ถึงขั้นปิดกิจการสื่อมวลชน แต่รัฐก็ไม่มีการแยกแยะเนื้อหาสาระว่าเนื้อหาใดในเว็บไซต์มีผลกระทบหรือไม่กระทบต่อความมั่นคง ทำให้ข้อมูลบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องถูกปิดกั้นไปด้วย แม้เมื่อมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว บางเว็บไซต์ยังถูกปิดกั้นอยู่

3.กรณีการชุมนุมและการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ นปช.เห็นว่าการชุมนุมของ นปช.เป็นการชุมนุมเกินขอบเขต แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่ใช่วิธีการปกติ เช่น บุกยึดรัฐสภา ปิดถนน ค้นรถประชาชน ขู่ บุก ยึดและเผาศาลากลางจังหวัด และมีการปรากฏตัวของชายชุดดำฉวยโอกาสทำให้สถานการณ์วุ่นวายด้วยการใช้อาวุธสงคราม เครื่องยิงระเบิด มีคนบาดเจ็บล้มตาย ทรัพย์สินราชการเสียหาย ซึ่งแกนนำมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง ป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาแทรกแซงใช้ความรุนแรง เพื่อให้การชุมนุมกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ลุกลามไปสู่ความรุนแรง แต่กลับพบว่ามีการใช้อาวุธสงครามที่ร้ายแรง และจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถาการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงการใช้และปิดกั้นพื้นที่เป็นการกระทำที่เกินกว่าความจำเป็น จึงถือเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญประกาศไว้ และในบางสถานที่มีการใช้เด็ก สตรี เป็นโล่มนุษย์ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขาดความระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก สตรี จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่อยู่นอกเหนือที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ส่วนการสลายการชุมนุม การสั่งยุติการชุมนุม การขอคืนพื้นที่ของรัฐนั้น เบื้องต้นรัฐบาลได้ดำเนินการตามที่ประกาศไว้ก่อนที่จะมีการรุกคืบเข้าปิดล้อมพื้นที่ โดยใช้การเจรจาประกาศเตือน ใช้มาตรการที่ประกาศไว้ คือ โล่ กระบอง น้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายกำหนดไว้

แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มชุมนุมใช้เด็ก สตรี เป็นโล่มนุษย์ ใช้ไม้ปลายแหลม ก้อนอิฐตัวหนอน โดยพยานยืนยันว่าผู้ชุมนุมใช้อาวุธปืนทำการต่อต้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ มีกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธพร้อมใช้ความรุนแรงได้ตลอดเวลาปะปนอยู่ด้วย เจ้าหน้าที่ทหารจึงมีความจำเป็นป้องกันตนเอง และผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยไม่สามารถใช้วิธีป้องกันอย่างอื่นได้ แต่แม้จะรับฟังได้ว่าเป็นการป้องกันตนเองและบุคคลอื่นให้พ้นจากภยันตรายต่อชีวิตและร่างกาย และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดอาญาร้ายแรงเพื่อกระทำการจับกุมผู้กระทำอันตราย หรือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานก็ตาม แต่ต้องไม่ทำเกินกว่าเหตุ นอกเสียจากไม่สามารถใช้มาตรการอื่นแทนได้ แต่การกระทำที่เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตจำนวนมาก การกระทำของรัฐจึงเป็นการกระทำโดยประมาท ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดที่รับไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ และเมื่อรัฐมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขประชาชน ตามรัฐธรรมนูญและกกหมายอื่นจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากความประมาณนั้น ตลอดจนดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาตามความเหมาะสมแก่ผู้ที่ได้รับความสูญเสียจากเหตุการณ์ดังกล่าวให้ครบถ้วน ทั่วถึงอย่างแท้จริง ทั้งในส่วนผู้ชุมนุมเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย ตลอดจนบาดเจ็บเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ที่เป็นผลมาจากการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งรัฐมีหน้าที่ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้เหตุระเบิดในที่ชุมนุมในพื้นที่เขตทหาร ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงจากภาพและพยานว่ามีการชี้เป้าก่อนนั้น แสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนเพื่อฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ในที่ประชุมในวันนั้นเป็นผลให้ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และสิบโทภูริวัฒน์ ประพันธ์ ถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำผิดอาญาฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ รวมถึงสอบสวนหาที่มาของอาวุธร้ายแรงต่างๆ ที่ใช้ในการชุมนุมเพื่อดำเนินการต่อไป ส่วนการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น สำนักข่าวรอยเตอร์ กสม.ไม่ได้มีการวินิจฉัย เนื่องจากกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับไปสอบสวนแล้ว เช่นเดียวกับกรณีการเสียชีวิตของกลุ่ม นปช.ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย อย่างไรก็ตามกรณีชายชุดดำ กรณีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้สื่อข่าว และประชาชนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทุกราย รวมถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินได้รับความเสียหายรัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องใช้หลักวิชาตามกำลังความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ไม่เลือกปฏิบัติ โดยควรดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้สังคมได้รับรู้ พร้อมลงโทษคนผิดตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อนำมาซึ่งความเป็นธรรมให้สังคม

4.กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตจากการยิงระเบิดเอ็ม 79 ที่แยกศาลาแดงวันที่ 22 เม.ย.53 ซึ่งในจำนวนนี้มี พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง รวมอยู่ด้วย เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่บริเวณศาลาแดง แต่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรง จนเกิดเหตุยิ่งลูกระเบิดเอ็ม 79 จนมีผู้เสียชีวิตนั้นเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติไม่มีการวางแผนที่ดีพอในการรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชน และมีลักษณะที่อาจทำให้ถูกมองได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งถือได้ว่ารัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติเหตุการณ์ละเลยการละเมิดสิทธิมนุยชน ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินการป้องกันสิทธิของประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมให้มากกว่านี้ โดยจากเหตุความรุนแรงดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 100 คน ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญาเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีหน้าที่ต้องสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีและรับโทษตามกฎหมาย

ส่วนการชุมนุมของผู้ชุมนุมที่ใช้สิทธิเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่ เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีพยานหลักฐานแสดงให้เชื่อได้ว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เป็นการชุมนุมให้เกิดผลความรุนแรง บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย โดยในคืนวันที่ 22 เม.ย. 53 มีพยานบุคคลที่เห็นว่าลูกระเบิดเอ็ม 79 ถูกยิงมาจากทิศทางและบริเวณที่กลุ่ม นปช.ใช้เป็นที่ชุมนุม และยังมีพยานบุคคลได้ยินแกนนำกลุ่ม นปช.ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงในทำนองที่ทำให้เข้าใจได้ว่าแกนนำของกลุ่ม นปช.รับรู้ล่วงหน้าแล้วว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิตเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวในช่วงระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งภายหลังปรากฏว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีการจับกุม นายเจมส์ สิงห์สิทธิ์ คนสนิท ของ เสธ.แดง โดยที่คดีดังกล่าวนายเจมส์ไม่รับสารภาพ และคดียังอยู่ระหว่างศาลอาญา จึงเห็นได้ว่าในเหตุการณ์นี้การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่แยกศาลาแดง มีการกระทำ ร่วมมือ ให้การสนับสนุนให้มีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในชีวิต ร่างกาย และสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เคารพต่อสิทธิเสรีภาพต่อบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในเหตุการณ์นี้จึงเป็นการชุมนุมที่เกินกว่าสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้การรับรอง เพราะไม่ได้เป็นการชุมนุมที่สงบปราศจากอาวุธ ทั้งยังเป็นการชุมนุมที่มีการกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายประการ ตลอดจนผลของความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้ถือได้ว่าการชุมนุมของกลุ่มนปช.มีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม

5.กรณีผู้ได้รับการบาดเจ็บเสียชีวิต บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติวันที่ 28 เม.ย. 53 เห็นว่า การที่รัฐใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารสกัดกั้นขบวนของกลุ่ม นปช.ที่เคลื่อนขบวนจากสี่แยกราชประสงค์เพื่อไปรวมชุมนุมกับกลุ่ม นปช.ที่ตลาดไท แม้ ศอฉ.จะชี้แจงว่าเป็นการกระทำที่กฎหมายให้อำนาจไว้ โดยมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการดำเนินการใช้กฎหมายแบบเบาไปหาหนักก็ตาม แต่ผลการปะทะกันระหว่าง นปช.กับเจ้าหน้าที่ทหารในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 1 ราย จากอาวุธปืน ประชาชน 16 ราย และทหารอีก 3 นายได้รับบาดเจ็บ ก็ถือเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

ส่วนกรณีการเสียชีวิตของพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ นั้น เมื่อกรณีเป็นการไตร่สวนในชั้นศาลแล้วว่า พลทหารณรงค์ฤทธิ์ ถูกยิงด้วยกระสุปืนความเร็วสูงที่ยิงจากอาวุธของทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้น โดยผลของกระสุนปืนทำลายเนื้อเยื่อสมองเป็นเหตุให้ถึงความตาย กสม.จึงไม่อาจก้าวล่วงไปในประเด็นนี้ นอกจากนี้ความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นความผิดกฎหมายอาญาที่รัฐ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ต้องสืบสวนหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษและรัฐต้องดำเนินการเยียวยาผู้เสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวต่อไป

6.กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.บริเวณรอบโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และการเข้าไปค้นโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 กสม.เห็นว่า จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เป็นพยานกลางไม่มีส่วนได้เสียในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่ม นปช.ระบุว่า กลุ่ม นปช.มีการขยายพื้นที่การชุมนุมจากแยกราชประสงค์ มาถึงถนนราชดำริ บริเวณสวนลุมพินี และข้างโรงพยาบาลจุฬาฯ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ได้รับผลกระทบ ต่อมามีการตรวจค้นกระเป๋าผู้ที่เดินทางเข้าออกของโรงพยาบาล มีการใช้พื้นที่ด้านหน้าตึก ภปร.เพื่อชุมนุมในเวลาค่ำคืน เป็นเหตุให้โรงพยาบาลต้องย้ายผู้ป่วยออกจากอาคาร ภปร.และอาคาร สก.ดังนั้นการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในบริเวณที่ติดกับโรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นการใช้สิทธิในการชุมนุมที่มีขอบข่ายกว้างขวางเกินควร ทั้งที่ย่อมเล็งเห็นอยู่แล้วว่าการชุมนุมจะเป็นการรบกวนความเป็นอยู่และอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิ เสรีภาพ ในชีวิตและร่างกาย สิทธิในการรับการบริการจากสาธารณสุข สร้างความหวาดกลัวความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเดินทาง และปฏิบัติหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นอันเป็นการละเมิดหลักมนุษยธรรมด้วย

ขณะที่เมื่อผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช.บางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาล ก็ถือว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพในลักษณะก้าวล่วงบุคคลอื่น ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ซึ่งการที่รัฐปล่อยให้ผู้ชุมนุมเข้าไปก่อความเดือดร้อนภายในโรงพยาบาล ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ถือได้ว่ารัฐละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย โดยการที่กลุ่ม นปช.ภายใต้การนำของ นายพายัพ ปั้นเกตุ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นพ.เหวง โตจิราการ ที่ได้ขอเข้าไปตรวจค้นภายในโรงพยาบาล โดยอ้างว่ามีกลุ่มทหารซ่อนตัวอยู่ในอาคาร ภปร.ทั้งที่ผู้บริหารโรงพยาบาลได้พยายามชี้แจงยืนยันแล้วว่าไม่มีกลุ่มทหารมาแอบซ่อนตัวแต่อย่างใด และเมื่อได้เข้าไปตรวจค้นก็ไม่มีการปฏิบัติการตามที่ได้ตกลงกันไว้ การตรวจค้นมีการทำลายประตูกระจก จนอาคาร สก.ได้รับความเสียหาย เพราะฉะนั้นการกระทำของ นปช.มีลักษณะร่วมกันบุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาล ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินราชการที่ใช้ และมีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งเมื่อผู้บริหารโรงพยาบาลไม่มั่นใจในความปลอดภัยของผู้ป่วย จนต้องมีการย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นนั้น การกระทำของ นปช.ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ไม่เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการละเมิดต่อหลักมนุษยธรรมที่เป็นกติกาสากลที่สังคมอารยะพึงยึดถือ เพราะแม้ในยามสงครามหรือมีความขัดแย้งระหว่างประเทศ โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ต้องได้รับการคุ้มครองจากทุกฝ่ายให้มีความปลอดภัย สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรมได้ โดยทุกฝ่ายยังต้องเคารพเครื่องหมายกาชาดที่เป็นสัญลักษณ์สากล อันหมายถึงการช่วยเหลือด้านการแพทย์ และมนุษยธรรมอย่างเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ การกระทำของกลุ่ม นปช.ในกรณีนี้จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและยังควรมีการสืบสวนตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อไป

7.กรณีการเกิดเหตุจลาจล ปะทะ และทำลายทรัพย์สินของราชการและเอกชนระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค. 2553 กสม.เห็นว่าการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของกลุ่ม นปช.บางส่วนเป็นเหตุที่สามารถส่งผลโดยตรง หรือโดยอ้อมให้เกิดการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินราชการและเอกชนให้เสียหาย เห็นได้ชัดว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ใช้อาวุธโดยข้อเท็จจริงปรากฏมีบุคคลใช้อาวุธยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ททหารเป็นระยะ แม้ปัจจุบันยังไม่อาจพิสูจน์ได้แน่ชัดว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นฝ่ายใด แต่ลักษณะของการใช้อาวุธเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ของการชุมนุม ซึ่งผลของการชุมนุมได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตร่างกาย และการประกอบอาชีพ ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลอื่น การใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

ส่วนมาตรการต่างๆ ของรัฐที่ใช้ในการกระชับพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์และพื้นที่โดยรอบ ซึ่ง ศอฉ.อ้างว่ามีความมุ่งหมายเพื่อจำกัดพื้นที่การชุมนุม และปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่อาจถูกคุกคามต่อชีวิต เห็นว่าการที่รัฐใช้อำนาจจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมเป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติตามกฎหมายเฉพาะกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 63 บัญญัติให้กระทำได้ แต่เมื่อมีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานดังกล่าวของรัฐ รัฐย่อมมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเยียวยา ส่วนประเด็นสิทธิในทรัพย์สินนั้นจากข้อเท็จจริงที่มีการเผาอาคาร สถานที่ต่างๆ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่มีพยานยืนยันว่าเกิดการปะทะกันระหว่างพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้าง และการ์ด นปช.และชายชุดดำ แล้วจึงเกิดการเผาห้าง การเข้าไปลักทรัพย์ในศูนย์การค้าดังกล่าว การเผาและทำลายทรัพย์สินดังกล่าวเป็นลักษณะการกระทำที่แกนนำเคยปราศรัยยั่วยุกับผู้ชุมนุมก่อนหน้านี้แล้ว และต่อมาพฤติกรรมการเผาทรัพย์สินขยายวงกว้างไปสู่การเผาทรัพย์สินไปหลายจังหวัด แสดงให้เห็นว่าการกระทำของกลุ่ม นปช.ในกรณีนี้เป็นการละเมิดสิทธิทรัพย์สินผู้อื่น

อย่างไรก็ตามสำหรับความมีอยู่จริงของชายชุดดำนั้น มีพยาน 5 คน ให้การสอดคล้องต้องกันว่ามีกลุ่มชายชุดดำอยู่ในพื้นที่ชุมนุมจริง โดยพยานบุคคลรายหนึ่งให้ข้อเท็จจริงว่ากลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึงกลุ่มชายชุดดำจะมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้วิทยุคลื่นความถี่ต่ำ มีการส่งเสบียงอาหาร รวมถึงยางรถยนต์ที่จะทำมาใช้เป็นบังเกอร์ และเชื้อไฟ มีการว่าจ้างให้เยาวชนจากนอกพื้นที่เป็นผู้เผายางรถยนต์และยิงพลุ สังเกตแล้วเห็นได้ชัดว่ามีการวางแผนการทำงานเป็นอย่างดี นอกจากนี้พยานบุคคลอีกรายให้ข้อเท็จจริงว่าก่อนเกิดเหตุเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์นั้น ปรากฏมีการปะทะกันระหว่างพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างกับกลุ่มชายชุดดำ โดยมีการโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย

8.กรณีมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บบริเวณวัดปทุมวนาราม ภายหลังจากแกนำกลุ่ม นปช.ประกาศยุติการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 เห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจากลักษณะทิศทางของกระสุนที่ปรากฏบนศพบางศพในจำนวน 6 ศพ ที่เสียชีวิตบริเวณนี้ มีลักษณะถูกยิงจากบนลงล่าง น่าจะสันนิษฐานได้ว่าผู้ยิงอยู่ในตำแหน่งสูงกว่า เมื่อปรากฏเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่บนรางรถไฟฟ้า หน้าวัดปทุมวนาราม รวมถึงภาพถ่ายร่องรอยกระสุนปืนบนรถยนต์ และพื้นถนนภายในวัด จึงน่าเชื่อได้ว่าความเสียหายกรณีการเสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ปฏิบัติการกระชับพื้นที่ในที่เกิดเหตุบริเวณวัดปทุมฯในบริเวณดังกล่าว

ดังนั้นเมื่อมาตรการที่รัฐกำหนดปฏิบัติเป็นกรณีจำเป็นสมควรตามกฎหมาย แต่เมื่อปฏิบัติแล้วเกิดความเสียหายขึ้น และความเสียหายส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของรัฐ จึงถือว่าการดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพต่อร่างกาย ซึ่งรัฐมีหน้าที่ในการประกันและคุ้มครองดูแล แต่กลับไม่สามารถมีมาตรการ หรือใช้วิธีการในการประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลได้ รัฐบาลจึงไม่อาจปฏิเสธการที่จะเยียวยาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้รัฐยังมีหน้าที่ในการที่จะสอบสวนหาข้อเท็จจริง และผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งตรวจสอบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรับผู้ใดผู้หนึ่งหรือไม่ที่ได้กระทำเกินขอบเขตของมาตรการที่รัฐ โดย ศอฉ.กำหนดไว้ ส่วนการดำเนินคดีกรณีเสียชีวิต 6 ศพในวัดปทุมฯนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดำเนินการตามกระบวนการกฎหมาย ซึ่ง กสม.ไม่อาจไปก้างล่วงมีคำวินิจฉัยในประเด็นนี้ได้

บทสรุป คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า จากเหตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมา จะต้องพิจารณาและสร้างบทเรียนให้สังคมได้รับทราบและเข้าใจคือ

1.ผู้จัดการชุมนุมต้องสร้างเจตจำนงร่วมกันในการชุมนุมโดยสงบสันติ และดูแลให้มีอุดมการณ์ที่ถูกต้องในการรักษาระบอบประชาธิปไตย เพราะเห็นได้ชัดว่าการชุมนุมที่เกิดขึ้นในระยะต้นแกนนำจะสามารถควบคุมฝูงชนได้ แต่ในระยะหลังมีการแยกกันดำเนินการจนแกนนำไม่สามารถควบคุมได้จนเป็นเหตุให้รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลในการควบคุมสถานการณ์ได้

2.ผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุมต้องมีหน้าที่ร่วมกัน ทำให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ยึดแนวทางสันติวิธีและเจรจาไกล่เกลี่ย ไม่ปลุกระดม หรือยั่วยุให้เกิดความรุนแรง

3.ผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุมต้องชุมนุมในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วไป หรือให้เกิดน้อยที่สุด และจะต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการชุมนุมด้วย อาทิ การชุมนุมของคนเสื้อแดงบริเวณสี่แยกราชประสงค์ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ จนก่อให้กระทบกับประชาชนในพื้นที่ทั้งในเรื่องการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ส่วนตัว

ในส่วนของภาครัฐนั้นรัฐจะต้องดูแลการชุมนุมให้เป็นไปอย่างสงบ เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพของประชาชนทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงกรอบกฎหมาย มาตรฐานสากล รวมถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ นอกจากนี้รัฐควรหลีกเลี่ยงการประกาศใข้กฎหมายพิเศษเพื่อดูแลความสงบและความเรียบร้อยในการชุมนุม เพราะไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการกฎหมายที่เหมาะสมหรือกลไกเฉพาะเพื่อดูแลการชุมนุม เพราะที่ผ่านมาการใช้กฎหมายพิเศษอย่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในนั้น ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอยู่ จนก่อให้เกิดความรุนแรงตามมา ทั้งนี้รัฐควรจะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบเป็นการเฉพาะในการดูแลการชุมนุม ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวต้องมีแผนปฏิบัติการและขั้นตอนที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะในการทำงานด้านมวลชน รวมถึงเครื่องมือที่เหมาะสมด้วย โดยจะต้องคำนึงเสมอว่าวิธีการใช้กำลังและอาวุธจะต้องเป็นทางเลือกสุดท้าย เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียหายให้น้อยที่สุด

ทั้งนี้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาจะเห็นว่า การใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของผู้ชุมนุมบางส่วนยังมีการใช้สิทธิเสรีภาพที่เกินขอบเขตที่ได้บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ แม้รัฐบาลจะมีหน่วยงานเพื่อเข้าควบคุมความสงบ แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาความสงบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหายได้ ซึ่งในสถานการณ์ปกติรัฐไม่สามารถเข้าไปแทรกแซง หรือจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนได้ แต่รัฐสามารถควบคุมการชุมนุมให้อยู่ภายใต้กรอบที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครอง รวมทั้งกรอบกฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติไว้เท่านั้น โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและนำมาสู่ความแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีข้อเสนอเป็นแนวทางการดำเนินการ คือ

1.คณะรัฐมนตรีควรหลีกเลี่ยงการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เว้นแต่การชุมนุมจะแปรเปลี่ยนไปสู่สถานการณ์วิกฤต หรือการจลาจลที่กระทบต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ควรจะต้องมีการกำหนดกรอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ที่ชัดเจน และมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นการกระทำต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

2.คณะรัฐมนตรีโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทบทวนถึงแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 63 ที่ต้องส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

3.คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการเผยแพร่เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนว่า สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นตามรายงานฉบับนี้มีข้อค้นพบที่เป็นปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงจากการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องร่วมกันหาทางออก โดยการลดการเอาชนะกันของพรรค กลุ่ม ครอบครัว บุคคล มาเป็นผลประโยชน์โดยรวม

4.คณะรัฐมนตรีโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและติดตามผู้กระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ชุมนุม หรือบุคคลใดก็ตาม มาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมในเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

5.คณะรัฐมนตรีควรตระหนักและหาทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่จะนำไปสู่การเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

6.คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการสร้างความเป็นธรรมในระยะการเปลี่ยนผ่านของสังคม โดยต้องทำความจริงในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ปรากฏ และมีมาตรการในการลงโทษผู้กระทำความผิดโดยยึดหลักกระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงการชดเชย เยียวยา และฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์

7.คณะรัฐมนตรีต้องไม่สกัดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามสิทธิในกฎหมาย หรือเป็นการแทรกแซงหรือละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน

ทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าว กสม.ยังได้ระบุถึงแนวทางการตรวจสอบว่า มาจากการเชิญพยานบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชน ทั่วไป จำนวน 1,036 คน แต่ก็มีผู้มาให้ถ้อยคำเพียง 184 คน โดยผู้ที่เชิญมาเล่ายังที่จะให้ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ หรือมีการกล่าวถึงเพียงเล็กน้อย เช่น กรณีกองกำลังติดอาวุธ ชายชุดดำ การเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น ผู้สื่อข่าวชาวอิตาลี พล.ต.ขัตติยะ พล.อ.ร่มเกล้า การเผาทำลายหลักฐานทางราชการ ขาดประจักษ์พยานในเหตุการณ์ทั้งที่มีผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจอยู่ในเหตุการณ์จำนวนมาก ขณะที่การเดินทางไปตรวจข้อเท็จจริงในพื้นที่ต้องใช้ความระมัดระวัง รวมถึงไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ บางเหตุการณ์ไม่อาจชี้ชัดว่าใครเป็นผู้กระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิ การเชิญแกนนำ นปช.มาให้ข้อมูลก็มีเพียงนายจรัล ดิษฐาอภิชัย คนเดียวที่มาให้ข้อเท็จจริง แต่เป็นการให้ข้อมูลภาพรวมที่ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ ซึ่งการดำเนินการของ กสม.ในการพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ คณะกรรมการได้ใช้เวลาในการปรึกษาหารือและให้ความเห็นกันอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 26 มิ.ย. 56 จึงได้มีมติให้เสนอรายงานและผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนยายไปยังคณะรัฐมนตรี หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 257 และ พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มาตรา 15 บัญญัติไว้ โดยคำนึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย

ที่มา manager.co.th

ให้ความเห็น

ข้อคิด : รัชกาล ที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้

รัชกาล ที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้

แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทิดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่
เกียรติศักดิ์รักข้า มอบไว้แก่ตัว

ให้ความเห็น

เตือนสติ

998919_496724137069462_1058494054_n

ให้ความเห็น

ทัศนคติของคนต่างชาติมองการทำงานของคนไทย….

เราคว้าตัวฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละคนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี
เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับการทำงานแบบไทยๆ เราก็ได้คำตอบว่า:

1. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิมๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น
ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม
ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี
– เจฟฟรีย์ บาร์น

2. การโต้แย้ง
เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้งๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม
บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า ” ขี้เกรงใจ ” แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
– ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ

3. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมาทั้งๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย
แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม
บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร
– ไมเคิล วิดฟิล์ค

4. ความรับผิดชอบ
1. ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า
ทั้งๆทีงานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนาน
ก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ควร
2. ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที
เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก
– สเตฟานี จอห์นสัน

5. วิธีแก้ไขปัญหา
คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า
หลายคั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรต้องรอให้เจ้านายสั่ง
ลงมาก่อนแล้วค่อยทำตามถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด
– ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก

6. บอกแต่ข่าวดีคนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
1. จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา
2. จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดีๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริงหรือถ้าหากเจ้านายถามว่า
จะทำงานเสร็จทันเวลาๆไหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย
– โจนาธาน ธอมพ์สัน

7. คำว่า ” ไม่เป็นไร ”
เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน
แต่จะใช้คำว่า ” ไม่เป็นไร ” มาแก้ปัญญหาแทน
– เจนิส อิกนาโรห์

8. ทักษะในการทำงาน
1. ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย
บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
2. ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
3. พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องร าวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก
แล้ไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม
– เดวิด กิลเบิร์ก

9. ความซื่อสัตย์
พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น มาสาย
ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน
– เฮเบิร์ก โอ ลิสส์

10. ระบบพวกพ้อง
คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน
พวกเขามักจะแนะนำเพื่อนๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา
การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก
และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง
– มาร์ค โอเนล ฮิวจ์

11. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว
คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว
พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร
1. ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
2. มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน
3. มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที
4. ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
5. ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย
– วิลเลี่ยม แมคคินสัน

12. นับถือระบบอาวุโส
คนไทยให้เกียรติคนที่อายุมากกว่ามากเกินไป จนไม่กล้าทำอะไรที่เรียกว่าเป็นการข้ามหน้าข้ามตา
บางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าอาจจะมีความคิดความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่กล้าแสดงออกเพราะเกรงใจคนที่อายุมาก
เป็นการทำลายโอกาสของตัวเอง และโอกาสของบริษัท
– เนลสัน ฟอร์ด

ให้ความเห็น

เรื่องในหลวง ที่เราอาจจะไม่เคยรู้

1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2. นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3. พระนาม ‘ภูมิพล‘ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5. ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษาทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า ‘H.H Bhummibol Mahidol’หมายเลขประจำตัว 449
7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า ‘แม่‘
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทยทรงตั้งชื่อให้ว่า‘บ๊อบบี้ ‘
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14. ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก ‘การให้ ‘ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า ‘กระป๋องคนจน ‘ เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก ‘เก็บภาษี ‘ หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า ‘ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน‘
17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก ‘การเล่น ‘ สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ ‘แสงเทียน ‘ จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง ‘เราสู้‘
26. รู้ไหม…? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5
27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯรพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘นายอินทร์ ‘ และ ‘ติโต ‘ ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ ‘พระมหาชนก‘ ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘กีฬาซีเกมส์‘) ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ ‘กังหันชัยพัฒนา ‘ เมื่อปี 2536
33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ! ปีแล้ว
34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า ‘น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
37. หลังอภิเษกสมรส ทรง ‘ฮันนีมูน ‘ที่หัวหิน
38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้าพอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับเมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นานค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง
45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
47. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า ‘ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก! บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ’
53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3×4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า ‘นายหลวง ‘ ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า ‘ทำราชการ ‘
68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า ‘อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก ‘
70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6 ล้านคน
74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด

อ่านจบแล้วจะส่งต่อหรือไม่ พิจารณาเอาเองก้อแล้วกัน

http://www.chaoprayanews.com/2012/06/01/บทความเกี่ยวกับในหลวง-ท/

ให้ความเห็น